Ecosystem เพื่อการลงทุน

ระบบนิเวศทางธุรกิจ (Business Ecosystem)

     เป็นการรวมกลุ่มของธุรกิจ หน่วยงาน องค์กร บุคคล และสถาบันต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มารวมตัวกันเพื่อดำเนินกิจกรรม การพึ่งพาอาศัยกันในกลุ่มธุรกิจเดียวกันอยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน มีการเชื่อมโยงกันของห่วงโซ่อุปทานของแต่ละกลุ่มธุรกิจ (Supply Chain) เพื่อร่วมมือ ช่วยเหลือ เกื้อหนุน การเสนอและออกกฎเกณฑ์ ส่งเสริม สนับสนุน ซึ่งกันและกัน ทำงานร่วมกันมากขึ้น การสร้างเครือข่าย และผู้ผลิตและผู้ให้บริการต่างๆ การสร้างสิ่งแวดล้อมเชิงสังคมเศรษฐกิจ รวมทั้งกรอบการทำงานในด้านสถาบัน องค์กรต่างๆ ให้เกื้อหนุนและสอดคล้องกับบริบทในการดำเนินธุรกิจ

     คณะกรรมการนโยบาย เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก มุ่งเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมและตลาดในประเทศและภูมิภาค จึงเป็นที่มาของแนวคิดการพัฒนา “เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก” (Eastern Economic Corridor of Innovation) หรืออีอีซีไอ (EECi) เป็นศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งใหม่บนพื้นที่ EEC มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในวังจันทร์วัลเลย์ จ.ระยอง โดยมีเป้าหมายสำคัญในการช่วยยกระดับและพัฒนาอุตสาหกรรมเดิม รวมถึงการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ ควบคู่กับการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ตลอดจนนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
และ “เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัลประเทศไทย (Eastern Economic Corridor of Digital: EECd) หรือ Digital Park” พื้นที่เศรษฐกิจใหม่ที่จะเป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุนด้านอุตสาหกรรมและ นวัตกรรมดิจิทัลของภูมิภาค มุ่งเน้นให้เกิดการลงทุนในธุรกิจดิจิทัลควบคู่กับการสร้างสรรค์ นวัตกรรมดิจิทัลเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย ตลอดจนยกระดับและพัฒนาอุตสาหกรรมICT เดิมไปสู่อุตสาหกรรมดิจิทัลยุคใหม่ (New S-Curve Digital Industry) รวมถึงเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีดิจิทัลให้กับทุกภาคส่วน

    โดยมุ่งเน้นการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อให้เกิดการร่วมผลิตและแบ่งปันการใช้ทรัพยากรและโครงสร้างพื้นฐานในส่วนของ EECi เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ สกพอ. และกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ อว. สร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการวิจัยและพัฒนาที่สำคัญของ 12 อุตสาหกรรม โดยแบ่งออกเป็น 4 เมืองนวัตกรรมขนาดใหญ่ พื้นที่รวม 3,454 ไร่ เป็นแพลตฟอร์มสนับสนุนอุตสาหกรรมมุ่งเป้า ได้แก่ 

รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์สำคัญที่จะจัดตั้งในพื้นที่ EECi อย่างเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน เป็นศูนย์กลางวิจัยด้านแสงซินโครตรอนชั้นแนวหน้าในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกในอนาคต มุ่งเน้นงานวิจัยด้านการแพทย์ เกษตร อุตสาหกรรม และอื่นๆ

     ในส่วนของ EECd คือ พื้นที่เศรษฐกิจใหม่ที่จะเป็นศูนย์กลางการค้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น (Digital Startups) ให้เป็นตัวจักรสำคัญในการพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) และเศรษฐกิจฐานผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Economy) สถาบันส่งเสริมวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้นมุ่งเน้นการพัฒนาระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่เหมาะสม เพื่อให้วิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วและสามารถสร้างโอกาสทั้งในตลาดในประเทศและตลาดโลก ภารกิจที่สำคัญของสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น ประกอบด้วย

  • การพัฒนามาตรการส่งเสริมและสนับสนุน สิ่งอำนวยความสะดวก โครงสร้างพื้นฐาน และฐานองค์ความรู้ เพื่อสนับสนุนการเติบโตของวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น
  • การพัฒนาเครือข่ายระหว่างผู้ประกอบการวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น นักลงทุน หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน เพื่อให้เกิดการจับคู่ทางธุรกิจ ขยายโอกาสทางด้านการตลาด และขยายโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนให้แก่วิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น
  • ส่งเสริมการขยายธุรกิจของวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้นออกสู่ตลาดต่างประเทศ และสร้างความรับรู้เกี่ยวกับวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้นไทยในเวทีนานาชาติ
  • ศึกษาและเสนอแนะแนวทางแก้ไขและปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อรองรับการเติบโตของวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้นอย่างมีประสิทธิภาพ
  • ส่งเสริมให้วิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้นสามารถเข้าถึงบริการภาครัฐ และตลาดภาครัฐ
  • ส่งเสริมให้วิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital transformation)
  • สนับสนุนการพัฒนากำลังคน เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้นให้เติบโตอย่างมีศักยภาพ
  • ดำเนินการร่วมกับเครือข่ายหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ เพื่อส่งเสริมบทบาทของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางการพัฒนาวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้นของภูมิภาค

ที่มา

การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย

     การจะพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาวและตอบสนองต่อบริบทโลกที่เปลี่ยนไปได้นั้น จำเป็นจะต้องพัฒนาอุตสาหกรรมหลักของประเทศให้เป็นอุตสาหกรรมชั้นสูงที่เน้นใช้เทคโนโลยี อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีที่มีในประเทศไทยนั้น ส่วนใหญ่จะอยู่ในขั้นตอนการวิจัยพัฒนาระดับห้องปฏิบัติการและเทคโนโลยีที่มีในต่างประเทศนั้นก็ไม่สามารถนำมาใช้ได้ทันที

     จำเป็นต้องเอามาปรับแปลงเทคโนโลยีขั้นสูง (Technology Localization) ให้สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมและตลาดในประเทศและภูมิภาคก่อน ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นที่มาของแนวคิดการพัฒนา “เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก” (Eastern Economic Corridor of Innovation) หรืออีอีซีไอ (EECi) ให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านนวัตกรรม เพื่อรองรับการขยายผลงานวิจัย การทดสอบการสาธิตเทคโนโลยี การประเมินความเป็นไปได้ทั้งในเชิงเทคโนโลยีและเชิงเศรษฐศาสตร์ รวมถึงการปรับแปลงเทคโนโลยีขั้นสูงจากต่างประเทศมาสู่การใช้ประโยชน์จริงใน 6 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ 

Asset 1

นวัตกรรมการเกษตร

Asset 2

ไบโอรีไฟเนอรี

Asset 3

แบตเตอรี่ประสิทธิภาพสูงและการขนส่งสมัยใหม่

Asset 4

ระบบอัตโนมัติหุ่นยนต์และอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ

Asset 5

เทคโนโลยีการบินและอากาศยานไร้นักบิน

Asset 6

เครื่องมือแพทย์

     เครื่องมือแพทย์บนพื้นที่กว่า 3,454 ไร่ ในวังจันทร์วัลเลย์ จังหวัดระยอง โดยมอบหมายให้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรในทุกภาคส่วน
     เพื่อให้อีอีซีไอสามารถทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษา สถาบันวิจัย ภาคอุตสาหกรรม และชุมชน เพื่อการต่อยอดไปสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และยกระดับความสามารถของภาคอุตสาหกรรมและชุมชนได้ประสบความสำเร็จนั้น ดังนั้นอีอีซีไอจึงได้รับการออกแบบให้เป็นระบบนิเวศนวัตกรรมชั้นนำ (Innovation Ecosystem) ที่จะมีโครงสร้างพื้นฐานด้านนวัตกรรมชั้นนำสำหรับการวิเคราะห์ ทดสอบและการขยายผล ห้องปฏิบัติการวิจัยของภาครัฐและเอกชน ศูนย์วิจัยของบริษัทเอกชนไทยและบริษัทข้ามชาติ หน่วยบ่มเพาะเทคโนโลยีชั้นนำ และนักลงทุน และผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก รวมทั้งผู้ให้บริการเทคโนโลยีที่มาจัดตั้งบริษัทและทำงานร่วมกันอยู่ในพื้นที่ นอกจากนี้อีอีซีไอยังได้ออกแบบพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ เพื่อรองรับชุมชนนวัตกรขนาดใหญ่ มีการเชื่อมโยงเครือข่ายนวัตกร นักคิดค้นเทคโนโลยี นักลงทุนด้านนวัตกรรม ท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการทำงานและการใช้ชีวิตอย่างลงตัว

ความคืบหน้า ​

ในการเตรียมการโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีของอีอีซีไอที่ได้เริ่มทยอยพัฒนาไปแล้วนั้น ตัวอย่างเช่น

1

เมืองนวัตกรรมชีวภาพ (BIOPOLIS)

ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการพัฒนาโรงงานต้นแบบไบโอรีไฟเนอรี (Biorefinery) ซึ่งจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่จะส่งเสริมการแปรรูปชีวมวล รวมถึงวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่มีมูลค่าต่ำไปสู่สารสกัดที่มีมูลค่าสูงนำไปใช้ในอุตสาหกรรมชีวภัณฑ์ อุตสาหกรรมยา อาหารเสริมและเครื่องสำอางได้ โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ในต้นปี พ.ศ. 2567 การเริ่มพัฒนาโรงเรือนปลูกพืชและโรงงานผลิตพืช (Smart Green house) เพื่อทดลองปลูกพืชสมุนไพรในสภาพแวดล้อมที่มีการควบคุมและจะจัดทำศูนย์สาธิตเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farming Demo Site) ใน 3 จังหวัดในพื้นที่อีอีซี โดยดำเนินการร่วมกับพันธมิตรทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชน เป็นต้น

2

เมืองนวัตกรรมระบบอัตโนมัติ หุ่นยนต์ และระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (ARIPOLIS)

ซึ่งในปีนี้ได้เริ่มพัฒนาศูนย์นวัตกรรมการผลิตยั่งยืน (Sustainable Manufacturing Center) เพื่อสาธิตสายการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีการผลิต 4.0 ให้เป็นสถานที่พัฒนา/ทดลองทดสอบความเข้ากันได้ของอุปกรณ์และระบบต่าง ๆ ก่อนนำไปใช้งานจริงในภาคอุตสาหกรรม รวมถึงเป็นแหล่งพัฒนากำลังคน ให้คำปรึกษาแก่ภาคอุตสาหกรรม และบริการจับคู่ความต้องการเทคโนโลยีและผู้ให้บริการอีกด้วย โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการกลางปี พ.ศ. 2565

3

เมืองนวัตกรรมการบินและอวกาศ (SPACE INNOPOLIS)

ได้ร่วมกับพันธมิตรเพื่อพัฒนาพื้นที่ทดลองและทดสอบอากาศยานไร้นักบิน (UAV Sandbox) ขึ้นในวังจันทร์วัลเลย์ และอยู่ในระหว่างพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพิ่มเติม เพื่อดึงดูดให้นำงานวิจัยมาทดสอบที่พื้นที่ทดลอง (Sandbox) นี้

4

เครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอน (Synchrotron Light Source)

เครื่องที่สองของประเทศไทยซึ่งเป็นเครื่องเร่งอนุภาคที่เปรียบเสมือนกล้องจุลทรรศน์ขนาดใหญ่ที่สามารถใช้ประโยชน์ในการวิจัยในระดับโมเลกุล ตอนนี้อยู่ในระหว่างการออกแบบและคาดว่าจะเริ่มสร้างเครื่องกำเนิดแสงซินโครตรอนได้ในปี พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป

     นอกจากความก้าวหน้าในเรื่องโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีและนวัตกรรมแล้ว อีอีซีไอยังมีแพลตฟอร์มสำหรับสนับสนุนผู้ประกอบการและชุมชนที่ได้เริ่มดำเนินการไปบ้างแล้ว ตัวอย่างเช่น การสนับสนุนการยกระดับความสามารถทางเทคโนโลยีให้กับ SMEs และ Startups ไปแล้ว 294 ราย โดยการยกระดับความสามารถของผู้ประกอบการดังกล่าวได้ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีกำไรเพิ่มขึ้น 201 ล้านบาทและก่อให้เกิดการลงทุนของเอกชนในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมรวม 54 ล้านบาท รวมถึงได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านการเกษตรสู่ชุมชนในพื้นที่ภาคตะวันออกไปแล้วทั้งสิ้นกว่า 191 ชุมชน และยังได้ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้กับสถานศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกรวมทั้งสิ้นกว่า 7,400 คน และจะมีโปรแกรมการเร่งการเติบโตของผู้ประกอบการเทคโนโลยี (Deep Tech Acceleration) ที่จะเริ่มดำเนินการได้ในกลางปีหน้า

     นอกจากนี้หากอีอีซีไอจะก้าวไปสู่การเป็นเขตนวัตกรรมชั้นนำใต้นั้น อีอีซีไอจะต้องเร่งดำเนินการ เช่น การดึงดูดผู้มีความสามารถสูงเข้ามาเพิ่มเติมในอีอีซีไอหรือในส่วนอื่นของประเทศเพื่อให้เกิดมวลที่มากพอสำหรับระบบเศรษฐกิจซึ่งขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมการดึงดูดสถาบันวิจัยชั้นนำของต่างประเทศให้เข้ามาเปิดศูนย์ความเป็นเลิศในประเทศไทย การทำงานกับภาคอุตสาหกรรมเพื่อร่วมลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานสำคัญเพิ่มเติมเพื่อยกระดับขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรม รวมไปถึงการสร้างการยอมรับจากผู้ที่มีส่วนได้เสียและชุมชนในพื้นที่ เป็นต้น

ที่มา : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)