อุตสาหกรรม 4.0

ประเทศไทยกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

โลกปัจจุบัน ได้ผ่านการพลิกโฉมอุตสาหกรรมครั้งสำคัญๆ มา 3 ครั้งแล้ว กล่าวคือ

  • ครั้งที่ 1 : การกำเนิดเครื่องจักรไอน้ำ (ทดแทนกำลังม้าและการใช้แรงงานสัตว์อื่นๆหรือมนุษย์)
  • ครั้งที่ 2 : ยุคของไฟฟ้า และการใช้สายงานการผลิตอัตโนมัติ
  • ครั้งที่ 3 : เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์
  • ครั้งที่ 4 (ปัจจุบัน) : ยุคการเชื่อมโยงของเครื่องจักรกับโลกไซเบอร์

ยุคอุตสาหกรรม 4.0 กับนโยบายประเทศไทย 4.0

10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และการชี้ทิศทางภาคการผลิตในอนาคต
      รัฐบาลเลือกกำหนด 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ให้เป็นอุตสาหกรรมนำภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 โดย 5 กลุ่มแรก เป็นการต่อยอดอุตสาหกรรมที่มีอยู่เดิม และประเทศไทยมีฐานการผลิตที่ดีมากอยู่แล้ว ซึ่งหากสามารถปรับเปลียนการผลิตโดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ก็จะสามารถยกระดับการผลิตได้ ได้แก่

  • อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Automotive) 
  • อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics)
  • อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism)
  • การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology) 
  • อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร (Food for the Future)

     กลุ่มที่สอง เป็นอุตสาหกรรมที่มีโอกาสเกิดขึ้นในประเทศไทยได้ เพราะมีพื้นฐานที่ดี และจะเป็นรากฐานของอุตสาหกรรมไทยในอนาคต ประกอบด้วย

  • อุตสาหกรรมหุ่นยนต์เพื่อการอุตสาหกรรม (Robotics) 
  • อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics)
  • อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชวีภาพ (Biofuels and Biochemicals) 
  • อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital)
  • อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)

ซึ่ง 5 อุตสาหกรรมในอนาคตนี้ มีเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นจริงแล้วในปัจจุบัน และกำลังพัฒนาไปอย่างมากในหลายด้าน
ตัวอย่างของเทคโนโลยีและองค์ความรู้ต่างๆ ที่ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยุค 4.0 ดังแสดงในภาพประกอบผลงานวิจัยของ Kadir และ Bzhwen

     หัวข้อต่างๆ เหล่านี้ เริ่มมีให้เห็นแล้วทั้งในต่างประเทศ และในธุรกิจชั้นนำของประเทศไทย ดังนั้น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สอดคล้องกับเทคโนโลยีดังกล่าว จึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต โดยในพื้นที่ อีอีซี มีแผมพัฒนาและสนับสนุนเกี่ยวกับการลงทุนด้าน Industry 4.0 ด้วยเช่นกัน รวมทั้งยังต้องการพัฒนาด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับกับการพัฒนาไปสู่ Industry 4.0 ซึ่ง นโยบายที่จะเกิดขึ้นก็คือการผลิตกำลังคนปรับทักษะ (Reskill) และเพิ่มทักษะ (Upskill) เพื่อสามารถปฏิบัติงานได้อย่างแท้จริง